แบบบันทึกองค์ความรู้
หน่วยงาน : สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดสุโขทัย กรมส่งเสริมการเรียนรู้
ผู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ : กลุ่มยุทธศาสตร์และการพัฒนา
หน่วยงาน : สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดสุโขทัย
ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : กลุ่มยุทธศาสตร์และการพัฒนา ได้เลือกองค์ความรู้เรื่องการดำเนินงานตัวชี้วัด “คุณภาพ สกร.สุโขทัย” เป็นหัวข้อในการจัดการองค์ความรู้ ด้วยเหตุผลที่สำคัญ คือ 1. เป็นวิธีการบริหารจัดการงานบุคลากร เพื่อกระตุ้นการปฏิบัติงานของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล 2. มีระบบการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศด้านการพัฒนาบุคลากรที่ชัดเจนและเป็นระบบ ด้วยระบบ Google forms
กระบวนการดำเนินงาน : กลุ่มยุทธศาสตร์และการพัฒนา เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงดำเนินการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพตามนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงานของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ และนโยบายของนายวรัท พฤกษาทวีกุล อดีตเลขาธิการ กศน. ที่ได้กำหนดแนวทางการทำงานในรูปแบบ 3P คือ
(1) Professional (2) Pro-Active และ (3) Public relation จึงได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน “เกณฑ์ตัวชี้วัดคุณภาพสุโขทัย” มาเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนงาน โดยนำภารกิจต่อเนื่อง ข้อ 6 ด้านบุคลากร ระบบการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ข้อ 6.1 การพัฒนาบุคลากร ข้อ 6.2 การพัฒนาระบบบริหารจัดการ และ ข้อ 6.4 การกำกับ นิเทศ ติดตามประเมินผลและรายงานผล มากำหนดเกณฑ์ตัวชี้วัดเพื่อกระตุ้นการปฏิบัติงานของบุคลากรให้มุ่งปฏิบัติงานอย่างเต็มศักยภาพ มีความเป็นมืออาชีพ โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานที่มีคุณภาพ โดยจัดทำเกณฑ์ในการปฏิบัติงานของบุคลากร ในการปฏิบัติงานเพื่อกระตุ้นการทำงานให้มีประสิทธิภาพมีผลงานเชิงประจักษ์ จึงได้จัดทำแนวทางการดำเนินงานตัวชี้วัด “คุณภาพ สกร.สุโขทัย”
โดยมีวัตถุประสงค์การดำเนินงานตัวชี้วัด “คุณภาพ สกร.สุโขทัย” 1) เพื่อกระตุ้นการปฏิบัติงานของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล 2) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาบุคลากรให้เป็นมืออาชีพรอบด้าน แนวทางในการพัฒนาบุคลากร 3) เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานที่มีผลงานเชิงประจักษ์ 4) เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาเงินค่าตอบแทนพิเศษให้กับพนักงานราชการ และบุคลากรอื่นๆ ในตำแหน่งที่ได้รับการพิจารณา
วิธีการกำหนดตัวชี้วัด
1. วิธีกำหนดตัวชี้วัด ศึกษานโยบาย จุดเน้น มาตรการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นโยบายรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายจุดเน้นการดำเนินงานของ
กรมส่งเสริมการเรียนรู้
2. ศึกษาเกณฑ์ตัวชี้วัดเกณฑ์การประเมินคัดเลือกบุคลากรหน่วยงาน เครือข่าย ดีเด่น ประจำปี
ของกรมส่งเสริมการเรียนรู้
3. ศึกษาเกณฑ์ตัวชี้วัดการประเมินผลงานอื่น ๆ เป็น ศูนย์การเรียนรู้ตำบล 5 ดี พรีเมี่ยม
การดำเนินงานระบบ DMIS การดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายอื่น ๆ
4. ประชุมบุคลากรบนสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดสุโขทัย กำหนดกรอบประเด็นการพิจารณา
จัดทำตัวชี้วัด
5. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการจัดทำตัวชี้วัดและคณะกรรมการกลั่นกรอง
6. ประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์และมาตรฐานคุณภาพ เพื่อกำหนดเกณฑ์ตัวชี้วัด “คุณภาพ สกร.สุโขทัย” โดยแต่ละตัวชี้วัดกำหนดเกณฑ์การพิจารณาผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด ซึ่งมีเกณฑ์การให้คะแนน 5 คะแนน
1) ตัวชี้วัด คุณภาพ สกร.สุโขทัย สำหรับบุคลากรทุกตำแหน่ง เรื่อง DMIS 100%, นวัตกรรม
การจัดการเรียนรู้ออนไลน์, ผลิตภัณฑ์พรีเมี่ยม, ผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice), บ้านหนังสือชุมชนดีเด่น, บุคลากรที่ได้รับรางวัลจากหน่วยงานในสังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้บุคลากรที่ได้รับรางวัลจากภาคีเครือข่าย หน่วยงาน/ภาคีเครือข่ายดีเด่น ประเภทหน่วยงานภาครัฐ/หน่วยงานเอกชน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น, การพัฒนาตนเองของบุคลากร
2) ตัวชี้วัด คุณภาพ สกร.สุโขทัย สำหรับครู / ครูศูนย์การเรียนรู้ตำบล เรื่อง นักศึกษาที่สร้างชื่อเสียงให้ สกร., โครงงาน/นวัตกรรมของนักศึกษา, ร้อยละของผู้สอบ N-NET, ร้อยละของผู้เข้าสอบปลายภาค, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปลายภาค, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปลายภาค, ผลสัมฤทธิ์ของการสอบ N-NET, กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน, หน่วยงาน/ภาคีเครือข่ายดีเด่น ประเภทศิษย์เก่าดีเด่น/ศิษย์ปัจจุบัน. กีฬาดีเด่น, การปฏิบัติงานตามภารกิจดีเด่น
ด้านแผนงาน, ศูนย์การเรียนรู้ตำบล ๕ ดี พรีเมี่ยม พลัส
3) ตัวชี้วัด คุณภาพ สกร.สุโขทัย สำหรับเจ้าหน้าที่แผน เรื่อง เรื่อง DMIS 100%, การปฏิบัติงานตามภารกิจดีเด่นด้านแผนงาน
4) ตัวชี้วัด คุณภาพ สกร.สุโขทัย สำหรับเจ้าหน้าที่การเงิน เรื่อง การปฏิบัติงานตามภารกิจดีเด่น ด้านการเงิน
5) ตัวชี้วัด คุณภาพ สกร.สุโขทัย สำหรับ สกร.อำเภอ เรื่อง ประสิทธิภาพการเบิกจ่ายประจำปีงบประมาณ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปลายภาค, ผลสัมฤทธิ์ของการสอบ N-NET,
การรายงานข่าวประชาสัมพันธ์, ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR), องค์กรนักศึกษาดีเด่น, สกร.อำเภอดีเด่น, ห้องสมุดประชาชนดีเด่น
7. ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรอง
8. แจ้งแนวทางการดำเนินงานแก่สถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง
9. แต่งตั้งคณะกรรมการ/มอบหมายผู้เกี่ยวข้องเก็บรวบรวมข้อมูล โดยจัดทำฟอร์มเก็บข้อมูลเกณฑ์ตัวชี้วัด “คุณภาพ สกร.สุโขทัย” ในระบบ Google forms
10. แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลประจำปี โดยเกณฑ์ตัวชี้วัดที่สามารถได้รางวัลมากกว่า
1 รางวัล จะบวกคะแนนเพิ่ม โดยที่ตัวชี้วัดนั้นจะไม่ถูกจำกัดที่คะแนนเต็ม 5 คะแนน เช่น ครูมีนักศึกษาที่สร้างชื่อเสียงให้ สกร. ในระดับประเทศ 1 คน และระดับจังหวัดอีก 1 คน จะได้ 7 คะแนนเป็นต้น โดยนำข้อมูลจากระบบ Google forms วิเคราะห์สรุปผลตามตัวชี้วัด
11. ประกาศยกย่อง ชมเชย ให้รางวัลและเป็นเกณฑ์การพิจารณาเงินค่าตอบแทนพิเศษให้กับพนักงานราชการ และบุคลากรอื่นที่ได้รับการพิจารณา ตามที่จะเห็นสมควร
12. ประเมินความพึงพอใจผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ
ขั้นตอนการจัดส่งข้อมูลเข้าระบบ Google Forms
บุคลากรจัดส่งหลักฐาน ประกาศ เกียรติบัตร หลักฐานอื่น ๆ ตามตัวชี้วัด คุณภาพ สกร.สุโขทัย
โดยจัดส่งทางระบบ Google Forms ที่ทางสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดสุโขทัยแจ้ง
ปัญหา/อุปสรรค และแนวทางการแก้ไข
ด้านผู้ใช้งาน
1. ตัวชี้วัดบางตัวมีความคล้ายคลึงกัน สร้างความสับสนให้แก่บุคลากรในการส่งหลักฐาน
2. เนื่องด้วยเกณฑ์การให้คะแนนของหลายตัวชี้วัดใช้หลักเกณฑ์การให้คะแนนแบบกำหนดเป็นระดับขั้นของความสำเร็จ (Milestone) หากบุคลากรไม่สามารถดำเนินการตามเกณฑ์การให้คะแนนข้อแรกได้ บุคลากรดังกล่าวก็จะได้ 0 คะแนนในตัวชี้วัดนั้นทันที
ด้านผู้จัดทำ
1. เกณฑ์การให้คะแนนบางตัวชี้วัดจะต้องใช้เอกสารหลักฐานการรายงานต่อผู้อํานวยการสถานศึกษาของเจ้าหน้าที่/ผู้ที่รับผิดชอบมาใช้ประกอบการพิจารณาให้คะแนน ซึ่งผู้เจ้าหน้าที่/ผู้ที่รับผิดชอบไม่ได้ส่งการรายงานดังกล่าวมายังสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดสุโขทัย คณะกรรมการฯ จึงไม่สามารถทราบได้ว่าเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติตามเกณฑ์ข้อนั้นได้จริงหรือไม่
2. เนื่องด้วยเว็บไซต์ PR ONIE ปิดการให้บริการเพื่อดำเนินปรับปรุงตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2564 และ
ไม่มีกำหนดวันในการกลับมาให้บริการอย่างแน่ชัด ทำให้การลงข่าวประชาสัมพันธ์ไม่สามารถดำเนินการได้
แนวทางการแก้ไข
1. เกณฑ์การให้คะแนนบางตัวชี้วัดที่ต้องใช้เอกสารหลักฐาน จะถูกระบุไปในเกณฑ์การพิจารณาอย่างขัดเจน
2. ควรปรับหลักเกณฑ์การพิจารณาให้คะแนนแบบกำหนดเป็นระดับขั้นของความสำเร็จ (Milestone)
เป็นการพิจารณาความสำเร็จที่ดำ เนินการได้เป็นข้อ ๆ
3. ควรรวมตัวชี้วัดที่มีความคล้ายคลึงกันให้เป็นตัวชี้วัดเดียว
เข้าชม : 81099
|